การรับประกัน
เป็นระยะเวลา 1 ปี พร้อมแนบใบรายงานรับรองผล Internal Pressure Test Reports ของชิ้นส่วนสายไฮดรอลิค ด้วยระบบ Hydroscan Tester ส่งไปด้วย รวมทั้งจัดทำรายงานความคืบหน้าในการทำงาน Progress of Workdone ส่งให้ทุกงวดการส่งมอบงาน
การฝึกอบรม
ควรจัดส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เข้าไปอบรมพร้อมเครื่องมือช่วยงานประกอบที่จะส่งไปให้สำรองใช้ในงาน Assembly Line ทันทีเช่นกัน โดยจะมีการฝึกอบรมดังนี้
ภาคทฤษฏีก่อน2 –3 วัน/ภาคปฏิบัติในภายหลัง 3 – 5 วัน
การจัดซื้อบริการของบริษัทฯในลักษณะเป็นงานจ้างผู้รับเหมาติดตั้ง ทำ เป็นแบบ Mass Production ช่วยลดต้นทุนการผลิต แล้วทางบริษัทฯ ควรจะจัดสรรเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมให้ผู้รับเหมาติดตั้งด้วย
กรณีที่มีงานเดิน แป็ปไฮดรอลิค ( Hydraulic Tube Parts ) ด้วย
มาตราฐาน การบานหัวแฟร์ของชิ้นส่วนแป็ปไฮดรอลิค
หัวแฟร์ต้องบานออกอย่างเหมาะสม ไม่น้อยเกินไป หรือ บานออกไม่สุด และ หัวแฟร์ ที่บานออกน้อยจะมีพื้นที่เทเปอร์ น้อยเกินไป ตัวรองหัวแฟร์ตาไก่ หรือ หัวน็อต ก็ต้องมีขนาดถูกต้องเหมาะสมด้วย การตรวจสอบมีรายการดังต่อไปนี้ :-
—เข้าไปเช็ค ระบบแป็ปไฮดรอลิค ของเครื่องบานปาก ( Flare Tube Parts )
—เช็คหัวบาน ว่ามีการสึกไปมากน้อยแค่ไหน
—เช็คแรงอัดในการบานหัวออก ว่าถูกต้องหรือไม่
—ปรับปรุงหน้าสัมผัส หรือ เทเปอร์ ขอวงหัวบานให้ถูกต้อง
การควบคุมการติดตั้งแป็ปไฮดรอลิค
- การปรับแต่งชิ้นงาน ( Fine Adjustment ) ของ Tube Parts ที่หน้างาน
เนื่องจากงานดัดแป็ป เป็นงาน Hand-made เป็นส่วนใหญ่ ปัญหาที่เกิด มีทั้ง 2 กรณี คือ :-
- การประกอบตัวรถ มี Tolerance ( ความคลาดเคลื่อน ) เกิดขึ้นเสมอ
- ชิ้นงาน Tube Parts ก็มี Tolerance เกิดขึ้นได้เหมือนกัน โดยเฉพาะพวกดัด 3 มิติ
การปรับแต่งชิ้นงาน หน้างานสำหรับผู้ติดตั้ง มี 2 วิธี คือ
- การดัดโดยใช้ Hand Bender ตัวดัดมือ 3R พร้อมลูกรีด 2R สำหรับแป็ป 20 มิล และ 25 มิล(การดัดเย็น)
- การดัดโดยการเป่าแก๊สล่น(การดัดร้อน)
ปกติโลหะจะมีค่า Tg ( อ่านว่า ค่า “ ทีจี ” หรือ Transition Temperature ) อยู่ที่ประมาณ 800 องศาเซลเซียส การตั้งเปลวหัวพ่นแก็ส ( Burner ) ก็ต้องปรับอัตราส่วนให้ได้ความร้อนประมาณ ค่า Tg ของแป็ป
สัดส่วนในการตั้งอัตราส่วน ของ แก็ส อ็อกซิเยน ( O2 ) : แก็ส อะเซ๊ตทิลีน ( C2H2) ต้องเหมาะสมในการดัดแป็ป
- งานดัดแป็ป จะปรับอัตราส่วนให้ C2H2 มากกว่า O2 จะได้เปลวไฟ สีแดง-ส้ม-เหลืองส้ม ความร้อนจะประมาณ 800 องศา C
- งานตัด-เชื่อม จะปรับอัตราส่วนให้ O2 มากกว่า C2H2 จะได้เปลวไฟ สี น้ำเงิน-ขาว ความร้อนจะประมาณ 1,100 – 1,250 องศา C ( เป็น Melting Point จุดหลอมละลายของโลหะ ซึ่งไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับส่วนผสมของโลหะ หรือ Alloy นั้น ๆ
การปรับตั้งอัตราส่วนแก็ส O2 : C2H2 จึงเป็นสิ่งสำคัญในการปรับแต่ง ชิ้นงานแป็ป และ ผู้ติดตั้งต้องระวัง คอยตรวจสอบการปรับแก็สในการดัดด้วย
การควบคุมการติดตั้ง ข้อต่อ-อะแด็ปเตอร์ ไฮดรอลิค
- การป้องกันการขันหัวสาย ไม่ให้หน้าเทเปอร์แตก และ อะแด็ปเตอร์ข้อต่อ ไม่ให้ปีนเกลียว
- วัดขนาดเหลี่ยมของหัวน็อต เพื่อเลือกขนาดของประแจ เบอร์ที่เหมาะสมก่อน
- ใช้ประแจจับ อย่างน้อย 2 ตัวในการประกอบสายไฮดรอลิค
- เวลาขันต้องระวัง ในกรณีที่ยังขัน ไม่สุดเกลียว แต่รู้สึกตึงมือเกินไปในเวลาขัน ต้องรีบคายเกลียวถอยออกมาก่อน อย่าฝืนขันต่อไป
- เมื่อถอยเคลียวแล้ว ให้ปรับเปลี่ยนตำแหน่ง หรือ หมุนเกลียวใหม่ จนกระทั่ง สุดเกลียว หรือ Taper หน้าสัมผัส ของข้อต่อยันกัน
- การป้องกันไฟไหม้ชิ้นงาน
- จำเป็นต้องมี ถังดับเพลิง อยู่ใกล้ๆ บริเวณ ที่กำลังทำงาน ตัด-เชื่อม แก็ส เมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้น ต้องรีบดับให้ทันเวลาก่อนที่จะลุกลาม ต่อไป จนเกิดความเสียหาย
- หมั่นฝึกซ้อมการป้องกัน การเกิดอัคคีภัยอยู่เสมอๆ
เทคนิค และ ขั้นตอนในการติดตั้ง ควรควบคุมให้เป็นไปตามมาตราฐานที่มีอยู่ในการติดตั้ง มีการส่งผู้ชำนาญงาน เข้าไปประจำที่ไซด์งาน คอยให้คำแนะนำ และ ช่วยเหลือในการติดตั้ง
ควรดูแล และ ให้คำแนะนำในการติดตั้งข้อต่อชนิดที่ต้องวางซิลโอริ่ง อย่างถูกต้อง โดย มีรายการดังต่อไปนี้ :-
1)เข้าไปเช็ค ตำแหน่ง การติดตั้ง ของข้อต่อ ( Elbow Adapter Parts ) การล็อคตั้งมุมองศาข้อข้อต่อ
2)เช็ค Port ที่ทำการติดตั้ง ว่ามีการผายปากรู ทำ Camper หรือไม่
—เช็คการขันอัดในการยึดติดตั้ง ว่าถูกต้องหรือไม่
—ปรับปรุงหน้าสัมผัส หรือ บ่าของรูยึด (Port) ให้ถูกต้อง